วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15 11/03/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ท่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่อาจารย์ ได้นัดมาสอนสอบนอกตารางค่ะเวลา 09.00-12.00น. สำหรับการสอบสอนในวันนี้อาจารย์ให้ตกลงกันเองว่ากลุ่มไหนจะสอบสอนก่อน จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำกลุ่มที่สอนเป็นกลุ่มแรกกับกลุ่มที่สอง โดยการเจาะลึกมากเป็นพิเศษเพื่อที่จะให้กลุ่มต่อไปรู้หลักการสอนที่ถูกต้อง สำหรับการสอบสอนในวันนี้ส่วนมากจะมีข้อผิดพลาดเหมือนๆกัน คือ
ขั้นนำ
1.การเขียนคำคล้องจองหรือเพลง ควรจะเขียนตัวอักษรแบบมีหัว เขียนแยกเป็นคำ
2.ควรมีภาพแทนคำในคำคล้องจองหรือเพลงเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ
ขั้นสอน
1.เมื่อถึงขั้นสอน สื่อที่ใช้ไปแล้ว เช่น คำคล้องจอง หรือเพลง ควรโชว์ไว้เพื่อทบทวนความรู้ให้แก่เด็กไม่ใช่สอนเสร็จแล้วเก็บจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์
2.สื่ออุปกรณ์ที่เตรียมมาใช้ในการสอนควรใช้ให้ถูกวิธี เช่น ถ้าเป็นสื่อรูปภาพควรติดที่ป้ายให้เด็กเห็นชัดเจนไม่ควรมาตั้งไว้บนโต๊ะเพราะจะทำให้สื่อที่นำมาใช้ไม่เกิดประโยชน์

สำหรับการสอนของดิฉันวันนี้ดิฉันได้สอน เรื่อง ประโยชน์ของดอกไม้ ซึ่งมีขั้นตอนการสอนดังนี้

ขั้นนำ

1.ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจองของดอกไม้
2.ถามเด็กว่าจากคำคล้องจองบอกอะไรเด็กบ้างเกี่ยวกับประโยชน์ของดอกไม้
3.ทบทวนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับประโยชน์ของดอกไม้ที่เด็กเคยเห็นในชีวิตประจำวัน.


ขั้นสอน

1.ให้เด็กดูภาพประโยชน์ของดอกไม้และดูอาชีพเกี่ยวกับดอกไม้
2.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้รู้จักประโยชน์ของดอกไม้กี่อย่างและนับจำนวนพร้อมกัน

ขั้นสรุป

ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของดอกไม้


สำหรับบรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ รู้สึกว่าเพื่อนๆจะมาช้ากันบ้าง ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นมากในการสอบสอนครั้งนีและร่วมลุ้นไปกับเพื่อนๆอยู่เหมือนกันว่าจะทำได้ดีกันทุกขั้นตอนหรือเปล่า วันนี้รู้สึกว่าเหนื่อยเหมือนกันเพราะมาตั้งแต่09.00น.กว่าเพื่อนๆจะสอนเสร็จทุกกลุ่มก็ได้กลับบ้านเวลา17.00น.แต่ก็รู้สึกว่ามันก็คุ้มเหมือนกันเพราะได้รับความรู้และคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการสอนที่ถูกวิธีจากอาจารย์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวการสอนในอนาคตได้ค่ะ




วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 06/02/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตารางในวัน อาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น.-12.00 น. จากนั้นอาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนในการสอนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนตรงตามมาตรฐานหรือไม่
2. การสอน
- การบูรณาการ
- สื่อ
- เทคนิค
- การประเมิน
จากนั้นอาจารย์อาจารย์ได้ให้เพื่อนที่เขียนคำคล้องจองหรือเพลงมาแล้วนำออกมาให้อาจารย์และเพื่อนๆดู
พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำคล้องจองที่ถูกต้องว่า การเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องเขียนแยกคำเพื่อให้เด็กเข้าใจและจดจำคำว่าแต่ล่ะคำเขียนอย่างไรและคำๆนั้นมีกี่พยางค์ และการเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องมีภาพประกอบแทนคำด้วยเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและรู้ความหมายระหว่างคำกับภาพ เช่น คำว่าดอกไม้ให้ใส่ภาพดอกไม้แทนคำ คำว่าก้อนเมฆ ให้ใส่ภาพก้อนเมฆแทนคำ เป็นต้น จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กว่า เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กอยากรู้ และสนใจที่ครูสอน ยกตัวอย่างเช่น การร้องเพลงเพื่อเก็บเด็กเราอาจจะมีเพลงเดียว แต่มีการบูรณาการเนื้อเพลงให้มีความหลากหลายในการร้อง ใช้วิธีที่หลากหลายในการพูด ทำให้ดึงดูดความสนใจเด็กและมาสนใจครูผู้สอน และตื่นเต้น ไม่เบื่อหน่ายกับเพลงเดิมๆ หากเราทำได้เช่นนี้ก็จะสามารถเก็บเด็กได้ และช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้นำแผนการสอนแบบ Project ของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดู "เรื่อง รถ" ซึ่งอาจารย์ให้ความรู้ว่าคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว และเป็นมาตรฐานสากลแบบเดียวกันที่มีบวก ลบ คูณ หาร ที่เหมือนกัน เวลาที่เราสอนเด็กต้องดึงประสบการณ์ เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพื่อเด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
สำหรับวันนี้อาจารย์เลิกเรียนเร็วกว่าปกติ เนื่องจากเพื่อนในห้องเกิดอุบัติเหตุรถล้ม อาจารย์เป็นห่วงจึงเลิกเรียนเร็วเพื่อให้เพื่อนไปหาค่ะ
บรรยากาศในห้องวันนี้ อากาศในห้องค่อนข้างร้อนค่ะ แต่ดิฉันก็ได้รับความรู้มากมายจากอาจารย์ในเรื่องการเตรียมการสอนค่ะ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 28/02/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ขอดูแผนการสอนของนักศึกษาที่ถ่ายเก็บไว้เพื่อที่จะเปรียบเทียบดูว่าตรงกับมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ แต่มีนักศึกษาบางคนไม่ได้นำแผนของตัวเองและมาตรฐานมาทำให้เปรียบเทียบไม่ได้ว่าตรงตามมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์เริ่มต้นสอนเรื่อง การวัด การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ
อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาตร,เวลา การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 กลุ่ม เช่น เปรียบจำนวนของสิ่งของ เรขาคณิต ไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทาง เช่น ข้างๆ ริมๆ
- รูป 3 มิติ เด็กสามารถมองเห็นทุกด้าน
- รูป2 มิติ เราสามารถนำเหรียญบาทมาให้เด็กดู
การจับคู่ คำว่า คู่ เป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์การจำแนก
การจัดหมวดหมู่ ต้องให้เด็กสร้างสรรค์งานให้มี 3 มิติ เช่นงานประดิษฐ์ ต้องเป็นโครงสร้าง 3 ส่วน
การจัดหมวดหมุ่พีชคณิต คือ แพ็ทเทิต หรือ รูปแบบ อาจารย์ยกตัวอย่างให้รู้ว่า
แพ็ทเทิตคืออะไร ให้นักศึกษาออกมา 3 คน แล้วให้เพื่อนอีก 3 คนมาทำตามรูปแบบเพื่อน 3 คนแรกความสัมพันธ์สองแกน จะต้องนึกถึงพวกกราฟ แต่ของเด็กจะเป็นพวกภาพทั้งหลายจะนำไปสู่พีชคณิตทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์
1. มีการแก้ไขปัญหาอยากง่าย
2. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
วิธีคิดให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เช่น คำถาม มีเค้ก 1 อัน แบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกันเด็กๆมีวิธีทำอย่างไรค่ะ การที่เราใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกเด็กให้คิดเป็นและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
เด็กใช้เหตุผลประกอบการคิดและทำให้มีประสบการในการให้เหตุผลประกอบการคิดมากขึ้น
อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1. แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y
2. แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3. แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันกันมากที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน และวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน และการตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้จะมีติดขัดนิดหน่อย คือ ต้องติดโปรแจ๊คเตอร์ทำให้การเรียนการสอนไม่ค่อยจะสะดวกเท่าไหร่ แต่การสอนก็เป็นไปได้ด้วยดีค่ะ อากาศก็ไม่ร้อนค่ะ

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 21/02/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องแผนที่ไปปรับปรุงแก้ไขหลังจากที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำไปเมื่อวันพฤหัสบดีตอนเย็นแต่ยังมีเพื่อนบางกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าพบอาจารย์อาจารย์จึงให้คำปรึกษาอย่างล่ะเอียดภายในห้องเรียน ระหว่างนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือช่วยกันคิดว่าจากแผนที่เขียนมาแต่ล่ะกลุ่มต้องการสื่ออะไรกันบ้างให้เขียนรายการส่งอาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ไปซื้อมาให้หรือไปเบิกเงินค่าอุกรณ์การเรียนมาให้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ล่ะกลุ่มรวบรวมแผนส่งโดยให้ถ่ายเอกสารไว้กับตัวเองด้วย
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ ฉันรู้สึกว่าวันนี้อากาศหนาวมากทำให้ดิฉันไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเท่าไหร่ แต่ก็เข้าใจที่อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 14/02/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการไม่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีของนักศึกษาชั้นปีที่3ว่าควรจะมีความรับผิดชอบและควรจะมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี จากนั้นอาจารย์ได้เปิดดูบล็อกของแต่ล่ะคนว่าเป็นยังไงบ้าง จึงให้นักศึกษาที่ไม่สามารถเปิดบล็อกได้มาเพิ่มและแก้ไขURLใหม่ จากนั้นอาจารย์ได้เรียกแต่ล่ะกลุ่มมานั่งรวมกันเพื่อดูแผนของแต่ล่ะกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำว่า แผนของตัวเองที่แก้มาแล้วนำมาตรวจกับมาตรฐานแล้วเขียนแผนใหม่มา จากนั้นเตรียมตัวเตรียมสื่อสำหรับการสอนต่อไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ
-เรื่องของสติปัญญา
-เรื่องของเนื้อหาสาระ
-ภาษา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์

สำหรับบรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ อากาศดีค่ะและการเรียนของดิฉันวันนี้ก็เป็นไปได้ด้วยดีสามารถเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์ให้คำแนะนำมากขึ้นค่ะ

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 07/01/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ดิฉันไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติเนื่องจากมีอาการปวดหัวมากค่ะ จึงได้ศึกษาเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอนจากบล็อกของอรอุมา ว่ามีอะไรบ้างจึงสรุปได้ดังนี้ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดเรื่องงานกีฬาสีของเอก และให้ส่งแผนแต่เพื่อนๆไม่ได้เอาแผนเก่ามา เพื่อนำมาคู่กับแผนใหม่ จากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้ การหาปริมาตร เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เวลา เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา การวัด ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเองคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ
(1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
(2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า
วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง
2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้
4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
5. ความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง มี 2 แบบ
6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน
6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไรคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ อาจารย์ให้ไปดูในบล็อกศิลปะสิ่งที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9 31/01/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเพราะมีธุระส่วนตัวค่ะ จึงคัดลอกเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้จาก วรรณวิศา ซึ่งสรุปได้ดังนี้ค่ะ บรรยากาศการเรียนวันนี้ไม่ค่อยดีนักเพราะมีเพื่อนบางคนไม่เอางานมาส่ง จึงทำให้การสอนสะดุดไม่ตรงตามจุดประสงค์แต่อาจารย์มีการแก้ไข นำเรื่องอื่นมาสอนก่อน อาจารย์พูดถึงการเขียนแม๊บให้ใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เด็กกล้าแสดงออกและเด็กได้คิด เด็กจะได้มีโอกาสตอบต้องมีสาระก่อนแล้วจะไปเขียนหน่วยได้ ซึ่งหน่วยมีทั้งที่ครูเตรียมไว้และเด็กอยากเรียนทำไม่จึงเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว หลักสูตร เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์สาระ คือเป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐานมาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนดการเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาตรฐานเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านคณิตศาสตร์ คือ1. จำนวนและดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พิชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังจากนั้นอาจารย์ให้เอาแผนที่ตัวเองทำมาดูว่าตรงกับสาระ สสวท หรือไม่สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ เรื่อง จำนวน
1. บอกปริมาณจำนวน อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่งอายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10
2. การอ่านเลขฮินดูอารบิก อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้
3. การเขียนจำนวนฮินดูอารบิก อายุ 5 ปี สามารถเขียนได้
เรื่องการเปรียบเทียบ
-อายุ 3 ปี สามารถเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และสามารถบอกได้ว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
-อายุ4 ปี สามารถเปรียบเทียบได้แต่จำนวนไม่เกิน 10 สามารถใช้มากกว่าน้อยกว่าได้
-อายุ 5 ปี สามารถเปรียบเทียบได้ สมารถใช้เท่ากัน ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า และ มากที่สุด น้อยที่สุด
เรื่องการเรียงลำดับ
-อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
-อายุ 4 ปี สามารถเรียงลำดับ 3 สิ่งได้
-อายุ 5 ปี สามารถเรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง
เรื่องการรวมกลุ่มและแยกกลุ่มคือเอาจำนวนมารวมกลุ่มเดียว
-อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
-อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง
-อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง