วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 28/02/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้ขอดูแผนการสอนของนักศึกษาที่ถ่ายเก็บไว้เพื่อที่จะเปรียบเทียบดูว่าตรงกับมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ แต่มีนักศึกษาบางคนไม่ได้นำแผนของตัวเองและมาตรฐานมาทำให้เปรียบเทียบไม่ได้ว่าตรงตามมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์เริ่มต้นสอนเรื่อง การวัด การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ
อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาตร,เวลา การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 กลุ่ม เช่น เปรียบจำนวนของสิ่งของ เรขาคณิต ไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทาง เช่น ข้างๆ ริมๆ
- รูป 3 มิติ เด็กสามารถมองเห็นทุกด้าน
- รูป2 มิติ เราสามารถนำเหรียญบาทมาให้เด็กดู
การจับคู่ คำว่า คู่ เป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์การจำแนก
การจัดหมวดหมู่ ต้องให้เด็กสร้างสรรค์งานให้มี 3 มิติ เช่นงานประดิษฐ์ ต้องเป็นโครงสร้าง 3 ส่วน
การจัดหมวดหมุ่พีชคณิต คือ แพ็ทเทิต หรือ รูปแบบ อาจารย์ยกตัวอย่างให้รู้ว่า
แพ็ทเทิตคืออะไร ให้นักศึกษาออกมา 3 คน แล้วให้เพื่อนอีก 3 คนมาทำตามรูปแบบเพื่อน 3 คนแรกความสัมพันธ์สองแกน จะต้องนึกถึงพวกกราฟ แต่ของเด็กจะเป็นพวกภาพทั้งหลายจะนำไปสู่พีชคณิตทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์
1. มีการแก้ไขปัญหาอยากง่าย
2. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
วิธีคิดให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เช่น คำถาม มีเค้ก 1 อัน แบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกันเด็กๆมีวิธีทำอย่างไรค่ะ การที่เราใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกเด็กให้คิดเป็นและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
เด็กใช้เหตุผลประกอบการคิดและทำให้มีประสบการในการให้เหตุผลประกอบการคิดมากขึ้น
อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1. แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y
2. แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3. แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันกันมากที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน และวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน และการตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้จะมีติดขัดนิดหน่อย คือ ต้องติดโปรแจ๊คเตอร์ทำให้การเรียนการสอนไม่ค่อยจะสะดวกเท่าไหร่ แต่การสอนก็เป็นไปได้ด้วยดีค่ะ อากาศก็ไม่ร้อนค่ะ

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 21/02/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องแผนที่ไปปรับปรุงแก้ไขหลังจากที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำไปเมื่อวันพฤหัสบดีตอนเย็นแต่ยังมีเพื่อนบางกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าพบอาจารย์อาจารย์จึงให้คำปรึกษาอย่างล่ะเอียดภายในห้องเรียน ระหว่างนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือช่วยกันคิดว่าจากแผนที่เขียนมาแต่ล่ะกลุ่มต้องการสื่ออะไรกันบ้างให้เขียนรายการส่งอาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ไปซื้อมาให้หรือไปเบิกเงินค่าอุกรณ์การเรียนมาให้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ล่ะกลุ่มรวบรวมแผนส่งโดยให้ถ่ายเอกสารไว้กับตัวเองด้วย
บรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ ฉันรู้สึกว่าวันนี้อากาศหนาวมากทำให้ดิฉันไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเท่าไหร่ แต่ก็เข้าใจที่อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 14/02/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการไม่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีของนักศึกษาชั้นปีที่3ว่าควรจะมีความรับผิดชอบและควรจะมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี จากนั้นอาจารย์ได้เปิดดูบล็อกของแต่ล่ะคนว่าเป็นยังไงบ้าง จึงให้นักศึกษาที่ไม่สามารถเปิดบล็อกได้มาเพิ่มและแก้ไขURLใหม่ จากนั้นอาจารย์ได้เรียกแต่ล่ะกลุ่มมานั่งรวมกันเพื่อดูแผนของแต่ล่ะกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำว่า แผนของตัวเองที่แก้มาแล้วนำมาตรวจกับมาตรฐานแล้วเขียนแผนใหม่มา จากนั้นเตรียมตัวเตรียมสื่อสำหรับการสอนต่อไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ
-เรื่องของสติปัญญา
-เรื่องของเนื้อหาสาระ
-ภาษา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์

สำหรับบรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ อากาศดีค่ะและการเรียนของดิฉันวันนี้ก็เป็นไปได้ด้วยดีสามารถเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์ให้คำแนะนำมากขึ้นค่ะ

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 07/01/2555

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ดิฉันไม่สามารถมาเรียนได้ตามปกติเนื่องจากมีอาการปวดหัวมากค่ะ จึงได้ศึกษาเนื้อหาที่อาจารย์ได้สอนจากบล็อกของอรอุมา ว่ามีอะไรบ้างจึงสรุปได้ดังนี้ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์พูดเรื่องงานกีฬาสีของเอก และให้ส่งแผนแต่เพื่อนๆไม่ได้เอาแผนเก่ามา เพื่อนำมาคู่กับแผนใหม่ จากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้ การหาปริมาตร เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เวลา เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา การวัด ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเองคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ
(1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
(2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า
วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง
2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้
4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
5. ความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง มี 2 แบบ
6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน
6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไรคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ อาจารย์ให้ไปดูในบล็อกศิลปะสิ่งที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง