วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4 27/12/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้เปิดบล็อกดูของแต่ล่ะคนและให้คำแนะนำในการทำบล็อกที่ถูกต้อง เช่น การเขียนคำอธิบายบล็อก นักศึกษาส่วนมากจะพิมพ์ชื่อวิชาอย่างเดียว อาจารย์จึงให้คำแนะนำว่า ควรพิมพ์ว่า แฟ้มสะสมงานรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้พูดถึงสีของบล็อกด้วยว่าให้ใช้สีที่เหมาะสม ไม่ใช้สีที่มืดทึบหรือสีที่ฉูดฉาดจนเกินไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดเชื่อมโยงไปถึงการจัดบอร์ดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย ว่าในการจัดบอร์ดห้ามใช้สีที่สะท้อนแสงจะทำให้เป็นอันตรายกับสายตาของเด็ก จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายการทำ Mind Mapping พร้อมยกตัวอย่างเรื่องไข่ ได้คณิตศาสตร์ เช่น ไข่มีรูปเป็นทรงรี เพราะมีหลายมิติ , การนับจำนวนไข่ เป็นต้น ได้วิทยาศาสตร๋ เช่น ไข่เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา สามารถหาได้เองตามธรรมชาติ และอาจารย์ได้บอกว่าการบูรณาการใน1วันจะต้องได้
-คณิตศาสตร์
-ภาษา
-วิทยาศาสตร์
-ความคิดสร้างสรรค์
-คุณธรรมจริยธรรม
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์ จิตใจ
จากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่ม Mind Mapping ในสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนในกลุ่มเขียน Mind Mapping กิจกรรมในแต่ละวันของตัวเอง
บรรยากาศในการเรียนการสอนในวันนี้ อากาศค่อนข้างหนาวเหมือนเดิม ส่วนความรู้วันนี้ก็ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ค่ะ อาจะมีไม่เข้าใจบ้างแต่ก็พยายามที่จะทำความเข้าใจค่ะ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3 20/12/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงนักทฤษฎีและนักการศึกษาของปฐมวัย ซึ่งมีดังนี้ อิริคสัน ดิ้วอี้ เพียเจต์ สกินเนอร์ เรกจิโอ ฟรอยด์ ฟรอเบล กีเซล จากนั้นได้สอนเกี่วกับคณิตศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน คือ
1.การรู้จักตัวเลข
-1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
-สิ่งที่เด็กนับต้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
2.รูปร่างรูปทรง
-ให้เด็กรู้จักความหมายก่อนแล้วแทนด้วยสัญลักษณ์
3.การนับ
-นับปากเปล่า 1 2 3 4 5
-นับบอกจำนวนบอกค่า
4.การชั่ง ตวง วัด
-เริ่มมีปริมาณมาเกี่ยวข้อง
5.การเพิ่มและลดจำนวน
-มีการเพิ่มลดอย่างเป็นขั้นตอน เช่น มีอยู่1 เพิ่มอีก1 รวมเป็น2
6.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
-ความสัมพันธ์ในเชิงความหมาย
7.การจำแนกประเภท
8.การจัดหมวดหมู่
9.การเปรียบเทียบ เช่นการเปรียบเทียบความสูง
10.การเรียงลำดับ
11.เวลา/พื้นที่ มีความกว้าง แคบ ข้างใน ข้างนอก
จากนั้นอาจารย์ได้สอนร้องเพลงเกี่ยวกับตัวเลขที่เด็กสามารถจดจำได้ง่าย คือ
1 2 3 4 5 จับปูม้ามาได้1ตัว
6 7 8 9 10 ปูมันหนีบ ฉันต้องส่ายหัว กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว ปูหนีบฉันที่แก้ม (รู้จักตัวเลขเป็นการนับแบบปากเปล่า)



12 1234 มาอยู่ที่นี่น่ะแม่ 4 5 6
พี่ไม่หลอก บอกไม่โกหก แม่ 4 5 6 7 8 9 10



นี่คือนิ้วมือของฉัน นิ้วมือของฉันมี10นิ้ว
มือซ้ายฉันมี5นิ้ว มือขวาก็มี5นิ้ว
นับ12345 นับต่อมา 678910
นับนิ้วจงอย่ารีบนับ1-10จำให้ขึ้นใจ



1ปีนั้นมี12เดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1สัปดาห์นั้นมี7วัน 1สัปดาห์นั้นมี7วัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ บึ้ม ลั้น ลั๊น ลา ลั๊น ลา

1.การนับ หมายถึง คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข อันดับแรกที่เด็กรู้จักคือ การนับอย่างมีความหมาย การนับตามลำดับตั้งแต่1-10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข หมายถึงการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรืออยู่ในชีวิตประจำวัน ด้วยการให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง
3.การจับคู่ หมายถึงการฝึกฝนให้เด็กเรียนรู้โดยสังเกตลักษณะ


จากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานคือ แบ่งกลุ่ม5คนเขียนหน่วย1หน่วย แตกเนื้อหาให้เหมาะสม วางแผนว่าเนื้อหาอะไรจะอยู่วันไหน ใครจะรับผิดชอบแตกเป็นmapเนื้อหา


สำหรับบรรยากาศในการเรียนวันนี้ ฉันรู้สึกว่าอากาศค่อนข้างหนาว ฉันมีความสุขและสนุกกับการเรียนมากเพราะได้ร้องและรู้จักเพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้นทำให้ฉันได้รับความรู้ที่จะสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ต่อไปค่ะ

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2 13/12/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ว่ามีความสำคัญคือ เครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ที่เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเรื่องของ การนับจำนวน การเปรียบเทียบ เป็นต้น มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสำคัญ คือ เป็นหลักเกณฑ์ในการพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กและถ้าครูมีความเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้จะช่วยให้ครูสะดวกในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น จากนั้นก็ได้มีการยกตัวอย่างกิจกรรม คือ กิจกรรมที่สัมพันธ์กับเวลาจะทำให้เด็กรู้จักเวลาโดยอัตโนมัติ การจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงชื่อ ลงเวลา ลงลำดับ เด็กจะได้รู้ว่าใครมาก่อนมาหลังตามลำดับ จากนั้นก็มีการนับจำนวน มีการเปรียบเทียบคนมาก่อนกับมาหลัง กิจกรรมนี้เมื่อเด็กทำแล้วจะทำให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างมีประสบการณ์และสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตประจำวัน
บรรยากาศในการเรีบนการสอนวันนี้ ตอนแรกก็มีความวุ่นวายเล็กน้อยเพราะมีการเปลี่ยนห้องเรียน แต่เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยการเรียนการสอนก็เป็นไปได้ด้วยดี เพราะผู้เรียนกับผู้สอนมีความร่สมมือกันในชั้นเรียน คือ การร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนทำให้ได้รับความรู้กันอย่างเต็มที่ค่ะ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1 06/12/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการที่เราจะสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยนั้น เราต้องเลือกหน่วยที่เหมาะสมกับเด็ก คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมีอิทธิพลต่อเด็ก จากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มเพื่อไปหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ โดยให้เขียนชื่อหนังสือ เลขหมู่และชื่อผู้แต่งมาให้ได้มากที่สุดแล้วนำมาส่งในคาบหน้า จากนั้นอาจารย์ก็สั่งให้แต่ล่ะคนกลับไปหามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ในระดับ3-6ขวบว่ามีอะไรบ้างแล้วสรุปลงบล็อก มาตรการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบและประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน มาตรฐาน ค.ป.1.1 :เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป.3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป.4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมาตรฐาน ค.ป.5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
สำหรับบรรยากาศในการเรียนการสอนวันนี้ ไม่ค่อยลงตัวเท่าไหร่เพราะเป็นการสอนคาบแรกและเพื่อนๆก็มาเรียนกันไม่มากเท่าไหร่ค่ะ